
เกาะราบเล็กๆ ห่างจากแผ่นดิน 60 กิโลเมตร กลางทะเลอันดามัน ไม่น่าจะมีใครเพียรพยายาม
ล่องเรือมาตั้งรกรากอาศัยถาวรที่นี้ได้ แต่ชาวเลเร่รอนกลุ่มหนึ่งก็ฟันฝ่าอุปสรรคนานับ ตั้งหมู่บ้านขึ้นบนเกาะสิเป๊ะแห่งนี้
สิเป๊ะ , นิสปิ๊ส ตามภาษาพูดในอดีตหรือ หลีเป๊ะ ในภาษาเขียนและออกเสียงในปัจจุบัน
ยังมีลูกหลานชาวเล ชนกลุ่มน้อยที่เคยรอนแรมล่องเรือระหว่างเมืองมะริด ของประเทศพม่า เกาะสุมาตรา
จนถึงประเทศ อินโดนีเซีย อยู่อาศัยและเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์
ความเชื่อต่อๆ กันมาว่า โต๊ะฆีรี หรือ ฮีหลี ชาวเล กลุ่มอุรักละโว๊ย คนแรกได้ลงหลักปักฐานที่เกาะแห่งนี้
และได้ชักชวนเพื่อนชาวเลอื่นๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานและถือเป็นเจ้าของเกาะแท้จริงสืบลูกสืบหลานจนถึงปัจจุบัน
อุรักละโว๊ย บนเกาะหลีเป๊ะแม้ไม่ได้ล่องเรือพเนจรสู้คลื่นลมเหมือนอย่างในอดีต ชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะทุกวันนี้
ก็ยังดำเนินชีวิตสู้ต่อคลื่นความเจริญ ปรับเปลี่ยนตามวันเวลาอย่างท้าทายและรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้
แม้จะไม่มี ศาสนาเช่นคนแผ่นดินใหญ่ แต่การนับถือผีและวิญญาณ บูชาบรรพบุรุษ ที่เรียกว่า พิธีไหว้ผีทวด
ฮาตู หรือปีศาจ ผีในความเชื่อที่รวมถึงวิญญาณของธรรมชาติรอบตัว อย่างผีน้ำ ผีไม้ ผีปู จนไปถึงผีเจ้าเกาะ
เคราะห์ คือ ความชั่วร้ายอัปมงคลที่เข้ามารบกวนชีวิต การปลดเปลื้องสิ่งเลวร้ายออกจากตัว
จะกระทำด้วยการนำความชั่วร้าย อัปมงคลนั่นใส่ลงเรือลอยออกไปในทะเล ซึ่งเรียกว่า พิธีลอยเรือ
ชาวอุรักละโว๊ย จะจัด พิธีลอยเรือ ในวัน ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุม
และ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดฤดูมรสุม จุดเริ่มของวันฟ้าใส
หลีเป๊ะ บทสรุปของผู้ปราถนาความเงียบสงบเรียบง่ายและไม่เจริญจนเกินงาม

ปัจจุบัน เกาะหลีเป๊ะ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย สิงค์โป รวมถึงนักท่องเที่ยว ยุโรป
ที่มักหนีความหนาว มาพักผ่อน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม เป็นต้นไป
ที่พัก มากมายบนเกาะหลีเป๊ะ อำนวยความสะดวกบนทรัพยากรที่จำกัดไม่แพ้สถานที่บนฝั่งแผ่นดิน
หลีเป๊ะทุกวันนี้ มีไฟฟ้าใช้ตลอดปี มีโรงเรียน อนามัย สัญญาณมือถือ
ด้วยขนาดพื้นที่ ทำให้ทุกบริการจึงมีจำนวนจำกัด การเดินทางมาเที่ยวทุกครั้ง ควรติดต่อจองบริการล่วงหน้า
